วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559


: การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์สำหรับคนทำงานกราฟิก :

   
          กราบบบบบบสวัสดีเพื่อนๆทุกคนครับ  วันนี้กระผมจะขอทำการรีวิวการจัดสเปคเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ที่ใช้งานกราฟิกหนักๆนะครับ  โดยเราจะมาจัดสเปคกันในงบประมาณ 70,000 บาทไทยกันนะครับ  มาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

       
          1. CPU : INTEL Core i7-6700K
          สาเหตุที่ได้เลือก CPU เป็น Intel Boxed Core I7-6700K 4.00 GHz 8M Processor Cache 4 LGA 1151 BX80662I76700K ราคา 13,100 บาท นั้นเป็นเพราะมีความเหมาะสมต่องานกราฟิกอย่างมาก  ต้องใช้การประมวลผลที่สูง ดังนั้น เกระผมได้เลือก CPU ตัวนี้ ที่มีคุณสมบัติ ในการ Turbo Boost สนับสนุนการทำงานของ Ram ที่เป็นทั้ง DDR4 และ DDR3L มาดูคุณสมบัติกันเลย..


          2. MAINBOARD : MSI B150M BAZOOKA D3
          เมนบอร์ดที่ได้เลือกนั้น มีการรองรับการทำงานของอุปกรณ์ของ MSI ด้วยกัน  โดยอุปกรณ์ชิ้นนี้มีราคาอยู่ที่ 3,290 บาทไทย


          3. RAM : G.SKILL SNIPER DDR3 16GB 2133 (8GBx2) SR
          Ram ที่เลือกนี้เป็น G.SKILL SNIPER DDR3 16GB 2133 (8GBx2) SR ราคาอยู่ที่ 4,300 บาทไทย มี 2 ใบนะครับ มีประสิทธิภาพในการกระจายความร้อน จึงเหมาะในการใช้งานนานๆ



          4. VGA : MSI TITAN X
          การ์ด VGA ตัวนี้ คือ MSI TITAN X GM200 มีราคาอยู่ที่ 32,500 บาทไทย ความสามารถในการประมวลภาพได้ดีมากครับ


          5. HDD : WESTERN DIGITAL Black 4TB WD4003FZEX
          ฮาร์ดดิสนี้ เป็นของ WESTERN DIGITAL Black 4TB WD4003FZEX มีราคาประมาณ 7.990 บาทไทย เพื่อรองรับการทำงานกราฟิกที่ใหญ่ๆ แล้วมีการทำงานที่รวดเร็วขึ้น



          6. CASE : AERO COOL Xpredator Evil Green Edition
          เคส AERO COOL Xpredator Evil Green Edition มีราคาประมาณ 4,190 บาทไทย เป็นเคสที่มีขนาดพอดี  สามารถบรรจุอุปกรณ์ได้ดีและสามารถรองรับอุปกรณ์ที่จะเกิดขึ้นใหม่ๆได้อีก


          7. PSU : AEROCOOL KCAS 700W
          Power Supply นี้มีราคาประมาณ 2,090 บาทไทย ครับ



          เป็นไงบ้างครับกับอุปกรณ์ที่กระผมได้จัดขึ้นเพื่อรองรับการทำงานกราฟิกที่หนักๆๆ  เพื่อการใช้งานที่สะดวก  ราบรื่น  แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าครับ ขอบคุณครับ !!

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

กระบวนการเปิดคอมพิวเตอร์


กระบวนการเปิดคอมพิวเตอร์


                  การจะเปิดคอมพิวเตอร์เริ่มต้นจะต้องมีการต่อกระแสไฟ
     โดยการเสียบปลั๊กไฟเข้ากับเต้าเสียบภายในบ้าน ซึ่งกระแสไฟที่
     ต่อจะเป็นไฟ้ฟ้ากระแสสลับแต่ตัวพาวเวอร์ซัพพลายจะเปลี่ยนไฟ
     จากกระแสสลับเป็นไฟฟ้ากระแสตรง เมื่อมีการกดที่ปุ่มพาวเวอร์
     จะเป็นการต่อวงจร เป็นการส่งสัญญาณไปที่พาวเวอร์ซัพพลาย
     ให้จ่ายพลังงานไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์ต่างๆที่ต่อกับ
      พาวเวอร์ซัพพลาย จากนั้นระบบจะเมื่อรีเซ็ตค่าทั้งหมด ยกเว้น
      ค่าที่เก็บอยู่ในซีมอส แล้วเริ่มการทำงานโดยเช็คการทำงานของ
      อุปกรณ์โดยเทียบกับค่าเดิมในการทำงานครั้งที่แล้วที่เก็บค่าไว้ใน
      ซีมอส เพื่อทำการเช็คการทำงานของอุปกรณ์เรียกว่าการ โพส
      หากโพสผ่านจะมีเสียงเตือน 1 ครั้ง ระบบจะเริ่มการทำงานโดย
      การบูทระบบปฏิบัติการ หากโพสไม่ผ่านระบบจะมีเสียงเตือนแตก
      ต่างกันไปตามอาการ

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

ถอดชิ้นส่วนเครื่อง และ ทดสอบออนเครื่อง


ถอดชิ้นส่วนเครื่อง และ ทดสอบออนเครื่อง

                          เนื้อหาในวันนี้นะครับเราจะมาทำการถอดชิ้นส่วนต่างของคอมพิวเตอร์ชนิด
        Personal Computer หรือ ที่เราเรียกกันว่า คอมPC แล้วก็จะเป็นการทดสอบการทำงานของ
        อุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆด้วยการออนเครื่่อง แถมเล็กน้อยกับการบันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์
        ที่ทำการทดสอบ งานนี้จะเป็นยังไงกันไปติดตามกันเลยครับ



         หมายเหตุ : เสียงในคลิปอาจไม่ชัดเจนเท่าที่ควรเนื่องจากขณะถ่ายทำมีคนอยู่มากนะครับ